รูปแบบเจดีย์จากแรกมี ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

07:43 Mali_Smile1978 494 Comments


รูปทรงสถูป ศิลปอินเดียสมัยโบราณ

       การสร้างสถูปเป็นพุทธเจดีย์นั้น เป็นที่แพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ถึงได้อุทิศพระองค์เป็นอุบาสก แล้วเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุอยู่คราวหนึ่ง พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเมื่อพระองค์ได้เสด็จจาริกแสวงบุญไปในที่ต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวกที่สำคัญ เช่น สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน พร้อมกับทรงสร้างสถูปและเสาอโศกประดิษฐานไว้ยังสถานที่นั้นๆ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนในท้องถิ่น และเป็นเครื่องชี้ให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ พระองค์ยังได้แจกพระบรมธาตุไปประดิษฐานไว้ในประเทศต่างๆ และประสงค์จะให้สร้างสถูป (หรือเจดีย์) บรรจุอัฐิธาตุของพระสังฆเถระ เป็นบริวารของมหาสถูปทั่วชมพูทวีป เป็นจำนวน 84,000 องค์ด้วย
     ลักษณะพระสถูปที่สร้างเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกนั้น มักทำตัวสถูปกลม รูปทรงเหมือนขันน้ำหรือโอคว่ำข้างบนทำเป็นพุทธอาสน์สี่เหลี่ยมตั้งไว้และมีฉัตรปักบนนั้นเป็นยอด ใต้ตัวสถูปทำเป็นฐานรอง รอบฐานทำเป็นที่สำหรับเดินประทักษิณ แล้วมีรั้วล้อมรอบ (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2469: 37-38) ดังพระสถูปสาญจี ศิลา ที่ยังคงเหลือเป็นหลักฐานมาถึงยุคปัจจุบันนี้ 
   
พระสถูปที่สาญจี ศิลปอินเดียสมัยโบราณ พุทธศตวรรษที่ 5
ที่มาภาพ: https://goo.gl/tZpLPm

รูปทรง สัณฐาน ของสถูปอินเดียโบราณ
ที่มาภาพ: https://goo.gl/l8Pd9J

มหาสถูป" ที่สาญจี 

     มหาสถูป สาญจี ปัจจุบันอยู่ในรัฐมัธยมประเทศของอินเดีย ที่นี่เป็นดินแดนแห่งสถูป (เจดีย์)วัด วิหาร และเสาศิลาจารึก สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 250 แต่เดิมเป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยดิน และได้มีการบูรณะเพิ่มเติมในสมัยราชวงศ์ศุงคะ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 3-4 ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ซึ่งได้พบสถูปองค์ ที่ 1, 2,3 พร้อมกุฏีที่พักสงฆ์เป็นจำนวนมาก แต่สถูปได้ถูกทำลายเป็นส่วนมาก โดยพวกนักล่าสมบัติ
     พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างมหาสถูปสาญจีขึ้น ในสมัยที่เป็นอุปราชปกครองกรุงอุชเชนี ด้วยพระประสงค์สำคัญ 4 อย่างคือ
      1. เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      2. เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอัครสาวก พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ รวมทั้งพระธาตุของพระสมณทูตอีก 10 รูป ที่ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาภายหลังการสังคายนาครั้งที่ 3
      3. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระโอรส “มหินทระเถระ” และพระธิดา “พระสังฆมิตตาเถรี”
      4. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระมเหสีพระนามว่า พระนางเวทิสา ผู้มีถิ่นกำเนิดที่สาญจี แห่งนี้
       
     ปัจจุบันสถูปเจดีย์สาญจีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ มีลักษณะเป็นรูปกลม “ทรงโอคว่ำ“ ถือเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด มีความสูง 16 เมตร กว้าง 37 เมตร มีประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศ มียอดฉัตรสามชั้น พร้อมกำแพงหินสลักภาพพุทธประวัติที่งดงามยิ่งนัก รวมถึงภาพพระพุทธเจ้าในอดีต และภาพสัตว์ต่างๆ ที่สื่อความสำคัญทางพระพุทธศาสนา
     นอกจากนี้ ในสมัยพระเจ้าอโศก ภายหลังการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเถระยังดินแดนสุวรรณภูมิ ส่งผลให้สถูปเจดีย์จากอินเดีย ได้ส่งอิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ในประเทศไทยในกาลต่อมาอีกหลายแห่ง อาทิ พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร, พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร, เนินวัดพระงาม ตั้งอยู่ในวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น (พระมหาสมจินต์ สมมาปญโญ (2547)  http://goo.gl/KbOhUP)    

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์

      พระปฐมเจดีย์ ถือว่าเป็นเจดีย์องค์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระโสณะ พระอุตตระ และคณะได้เดินทางมาประกาศพระพุทธศาสนาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ องค์เจดีย์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่องค์เดิม แต่เป็นเจดีย์ที่ก่อขึ้นมาใหม่หุ้มองค์เดิมไว้
     พระปฐมเจดีย์องค์เดิมมีลักษณะเหมือนเจดีย์ที่สาญจิ ประเทศอินเดีย กล่าวคือ องค์เจดีย์เป็นรูปกลม เหมือนโอหรือขันน้ำคว่ำ ข้างบนทำเป็นพุทธอาสน์สี่เหลี่ยมตั้งไว้ มีฉัตรปักเป็นยอด ฐานเจดีย์ทำเป็นสี่เหลี่ยม รอบฐานทำเป็นที่เดินประทักษิณ อีกประการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ (วิกิพีเดีย. https://goo.gl/zDT5of)


ที่มาภาพ: https://goo.gl/Bwq6Tx
รูปแบบพระปฐมเจดีย์ องค์เดิม
ที่มา: https://goo.gl/nPu22b
          พระปฐมเจดีย์องค์เดิมมีขนาดความสูง ๑๙ วา ๒ ศอก (หรือ ๓๙ เมตร) ถูกทิ้งให้รกร้างไม่มีใครดูแลอยู่ระยะหนึ่ง สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวชอยู่ เสด็จฯไปนมัสการพระปฐมเจดีย์หลายครั้ง ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ เมื่อขึ้นครองราชย์ จึงได้โปรดฯให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบเจดีย์องค์เดิมไว้เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ มีขนาดความสูง ๑๒๐ เมตร ๔๕ เซนติเมตร
    ดังนั้น ลักษณะองค์เจดีย์ในปัจจุบัน ทรงพระปรางค์ ปากผาย โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นใหญ่ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ขนาดความสูงจากพื้น ๑๒๐ เมตร ๔๕ เซนติเมตร มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานโดยรอบ ๘๐ องค์ ประกอบด้วยพระวิหาร ๔ ทิศ กำแพงแก้ว ๒ ชั้น
    

พระปฐมเจดีย์ องค์ปัจจุบัน จ.นครปฐม
ที่มาภาพ: https://goo.gl/HvnxFd

เจดีย์แบบปรางค์
     ระยะเวลากว่าพันปีมาแล้ว ที่ดินแดนไทยรวมทั้งดินแดนใกล้เคียงในภูมิภาคแถบนี้ ได้เข้าสู่วัฒนธรรมศาสนาภายใต้ระบบกษัตริย์ ซึ่งแผ่ขยายจากประเทศอินเดียโบราณ ทำให้แบบแผนด้านงานช่างหรือที่เรียกว่า "ศิลปกรรม" อันเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเผยแผ่คติความเชื่อและการศรัทธาในศาสนา ได้ก้าวผ่านพัฒนาการมาเป็นลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะเป็นลำดับยุคสมัยของดินแดนเหล่านั้น ซึ่งการติดต่อไปมาหาสู่กัน ทำให้เกิดการถ่ายรับแรงบันดาลใจด้านรูปแบบ และคติความเชื่อระหว่างดินแดนทั้งใกล้และไกลอีกด้วย จึงมีรูปแบบเจดีย์ทรงอื่นๆ มีการปรับปรุงอยู่ในดินแดนต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา  (สารานุกรมสำหรับเยาวชน, http://goo.gl/WSK4GR)

    เจดีย์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ปรางค์” มีแบบอย่างมาจากปราสาท(เรือนหลายชั้น) ปราสาทนี้เดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่ของคนมั่งมี สร้างด้วยไม้ ต่อมามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแบบการสร้างปราสาท นิยมสร้างอิฐและศิลาเกิดเป็นพระปรางค์ นิยมสร้างกันทั้งในกลุ่มคนที่นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์(ฮินดู) สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหรือเทวรูป ถ้าเป็นพระปรางค์ในพระพุทธศาสนา ยอดทำเป็นสถูป แต่ถ้าเป็นปรางค์ในศาสนาพราหมณ์ ยอดทำเป็นตรีศูล (๓ สามแฉก) หรือนพศูล(๙ แฉก)  
 พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ที่มาภาพ: https://goo.gl/LtKqoo

     พระปรางค์วัดศรีสวาย (สามองค์)
ที่มาภาพ: https://goo.gl/TqsoC7

    พระปรางค์ของไทยโดยทั่วไปมีลักษณะรูปทรงคลี่คลายมาจากอิทธิพลแบบอย่างสถาปัตยกรรมสิขร ของขอมและอินเดียผสมผสานกัน แต่มิได้ลอกเลียนแบบมาโดยตรง พุทธปรางค์ในสมัยสุโขทัยแม้จะมีอยู่เพียงไม่กี่องค์ก็ตาม แต่ก็มีปัญหาถกเถียงกันในหมู่นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ปรางค์ต่างๆ เป็นปรางค์ที่ขอมสร้างไว้เมื่อครั้งยังมีอำนาจในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเลยขึ้นไปถึงลำน้ำยม ต่อมาเมื่อไทยมีอำนาจมากขึ้น ได้ดัดแปลงแต่งเติมเพิ่มขึ้นภายหลัง จึงปรากฏรูปแบบศิลปะของฝีมือช่างไทย คือรูปทรงสูงชลูด พุทธปรางค์เท่าที่ปรากฏอยู่มี พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระปรางค์วัดเจ้าจันทน์ ในอำเภอศรีสัชนาลัย พระปรางค์วัดศรีสวาย (สามองค์) พระปรางค์วัดพระพายหลวง (สามองค์) และศาลผาตาแดง(ยอดพังลงหมดแล้ว)ในอำเภอเมืองสุโขทัย  (Ramkhamhaeng University.ศิลปกรรมสัมยสุโขทัย http://goo.gl/6ckzhl

เจดีย์ประธานทรงระฆัง ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มาภาพ: 
https://goo.gl/u56EYI

     เจดีย์ที่พบในประเทศไทย มีทั้งแบบเจดีย์ประธานยอดดอกบัวตูม ที่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย เจดีย์ประธานทรงระฆัง ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เจดีย์ทรงระฆังแบบทรงเครื่อง เจดีย์ทรงเครื่องวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง เจดีย์วัดสามพิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย ที่วัดกู่กุด จังหวัดลำพูน
ที่มาภาพ: 
https://goo.gl/PMZB1z

      เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย ที่วัดกู่กุด จังหวัดลำพูน เจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย ที่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังแบบสุโขทัย ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย เจดีย์ทรงปราสาทแบบขอม ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เจดีย์ทรงปราสาทแบบขอม ปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี

พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
ที่มาภาพ: 
https://goo.gl/xY2OXp

        เจดีย์ทรงปรางค์ ปรางค์ประธาน ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เจดีย์ทรงปรางค์นี้สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม ๒ สาย พราหมณ์(ฮินดู)กับพระพุทธศาสนา ยอดปรางค์เป็น ๓ แฉก(ตรีศูล) แสดงถึงอาวุธประจำตัวของพระศิวะ(พระอินทร์) หรือแสดงถึงเทพใหญ่ ๓ องค์ของฮินดู คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิว(ตรีมูรติ) ยอดปรางค์เป็น ๙ แฉก เช่นปรางค์วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ มีกิ่งรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ แสดงถึงโลกุตตรธรรม ๙(พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (2547)  http://goo.gl/KbOhUP)



มหาธรรมกายเจดีย์เป็นเจดีย์รูปทรงดั้งเดิม ร่วมสมัยพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
ที่มาภาพ: 
https://goo.gl/D81EG0

    ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า รูปแบบเจดีย์สมัยต่างๆ ที่กล่าวมาโดยย่อนี้ สะท้อนภาพรวมที่เป็นเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมในอดีตของดินแดนไทย มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นมีการผสมผสาน จนในที่สุดกลายมาเป็นเจดีย์ในศิลปะรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน  
    เราจะเห็นว่าในพระพุทธศาสนา ปรากฎรูปแบบของพุทธเจดีย์หลายหลาก แต่ทุกรูปแบบนั้นเหตุที่สร้างขึ้นมีเหมือนกันในทุกๆ ภูมิภาค (เกษมสุข ภมรสถิตย์, 2558: 42) คือ
   1. สร้างเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
   2. สร้างเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์
   3. สร้างเพื่อสักการะเคารพบูชา
     

                                                                         เรียบเรียงโดย: มะลิ สไมล์ ,นักวิชาการอิสระ


อ้างอิงข้อมูล: 
1.สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ.ตำนานพระพุทธเจดีย์.2469.
2.ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม.เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย.พิมพ์ครั้ง ที่ 5,2552.
3.พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ "เจดีย์ในพระพุทธศาสนา" (2547)  http://goo.gl/KbOhUP.
                             
                                                        

494 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากๆคะ ได้รับข้อมูลเท็จจริงคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป็นบทความให้คงามรู้ที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อชาวพุทธมากค่ะ

      ลบ
  2. ความจริงที่ควรมองให้ถูกมุม

    ตอบลบ
  3. ความจริงที่ควรมองให้ถูกมุม

    ตอบลบ
  4. ชัดเจนมาก ขออนุโมทนา

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณข้อมูลดีดี ประโยชน์ ถูกต้อง

    ตอบลบ
  6. เข้าใจง่ายหายสงสัย

    ตอบลบ
  7. สาธุ เจดีย์แต่ระที่จะเป็นที่ระลึกนึกถึงความดีของบรรพรุษที่ทำมาทั้งนั้นค่ะ

    ตอบลบ
  8. เป็นควาทศรัทธายิ่งของชาวพุทธ

    ตอบลบ
  9. เข้าใจแจ่งแจ้งดีครับ

    ตอบลบ
  10. อนุโมทนาบุญครับ

    ตอบลบ
  11. สุดยอดมากๆค่ะ อนุโมทนา สาธุๆๆค่ะ

    ตอบลบ
  12. สุดยอดมากๆค่ะ อนุโมทนา สาธุๆๆค่ะ

    ตอบลบ
  13. ความศรัทธาและยิ่งใหญ่ของชาวพุทธทั้งในอดีตและปัจจุบัน

    ตอบลบ
  14. คนที่เห็นโลกกว้างจะเข้าใจได้ง่าย คนที่ไม่ยอมเข้าใจอะไรเลยเรื่องรูปทรงเจดีย์นี่วิสัยทัศน์แคบมาก

    ตอบลบ
  15. ได้ความรู้ ได้บุญมากครับ สาธุ

    ตอบลบ
  16. ขอชื่นชม...นำสิ่งดีมาบอกให้โลกรู้...คนไทยจะได้ใจใสใจสว่างกันมากๆ

    ตอบลบ
  17. ชัดเจนค่ะ เข้าใจได้ง่ายๆค่ะ

    ตอบลบ
  18. ขอชื่นชม...นำสิ่งดีมาบอกให้โลกรู้...คนไทยจะได้ใจใสใจสว่างกันมากๆ

    ตอบลบ
  19. อนุโมทนาบุญนะคะ ดีจัง

    ตอบลบ
  20. ยุคสมัคยเปลี่ยนไป แต่แรงบันดาลใจในการก่อสร้างเหมือนกัน คือบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ตอบลบ
  21. เป็นข้อมูลที่ดีมากๆใครที่ยังไม่เคยรู้เรื่องเจดีย์ต้องศึกษาค่ะ

    ตอบลบ
  22. สาธุค่ะ..เป็นข้อมูลที่ให้ความกระจ่างชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  23. เป็นข้อมูลที่ดีมากๆใครที่ยังไม่เคยรู้เรื่องเจดีย์ต้องศึกษาค่ะ

    ตอบลบ
  24. เขียนได้ดีและชัดเจนมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  25. ข้อมูลชัดเจนดีมากครับ

    ตอบลบ
  26. ข้อมูลชัดเจนดีมากครับ

    ตอบลบ
  27. เจดีย์เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะมีรูปทรงใดพอเห็นก็ต้องก้มกราบ นี่เป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ

    ตอบลบ
  28. บทความดีมากค่ะ พระมหาธรรมกายเจดีย์ก็สร้างอย่างถูกต้องตามต้นแบบเจดีย์ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  29. บทความดีมากค่ะ พระมหาธรรมกายเจดีย์ก็สร้างอย่างถูกต้องตามต้นแบบเจดีย์ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  30. ใครได้อ่านก็จะได้รู้ความจริงค่ะ สาธุๆๆค่ะ

    ตอบลบ
  31. สาธุครับ.. ที่ทำให้ความจริงปรากฎในสายตาโลก

    ตอบลบ
  32. สาธุ เล่าที่มาของเจดีย์แบบนี้ก็ได้ความรู้ไว้ตอบลูกหลาน

    ตอบลบ
  33. ได้ความรู้มากขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  34. เรียงลำดับได้ดี อธิบายได้ชัดเจนมากครับสาธุ

    ตอบลบ
  35. ได้ความรู้มากขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  36. สมัยนี้ไม่ได้ศึกษากัน หลายคนอาจเข้่ใจผิดว่าเจดีย์มีแบบไทย แบบสูงๆอย่างเดียว จริงๆไม่ใช่ Blog นี้ให้ความรู้กระจ่างดี

    ตอบลบ
  37. อนุโมทนาบุญมากๆ ค่ะ ชัดเจน ค่ะ

    ตอบลบ
  38. saif1356.blogspot.com ดูซิเจดีย์มีแบบอย่าง

    ตอบลบ
  39. ความจริงที่ทุกคนควรศึกษาให้รู้แจ้งค่ะ

    ตอบลบ
  40. เป็นข้อมูลที่ชัดเจนมากค่ะ

    ตอบลบ
  41. อนุโมทนาบุญชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  42. สมัยนี้ไม่ได้ศึกษากัน หลายคนอาจเข้่ใจผิดว่าเจดีย์มีแบบไทย แบบสูงๆอย่างเดียว จริงๆไม่ใช่ Blog นี้ให้ความรู้กระจ่างดี

    ตอบลบ
  43. Thank you very much for this useful information about the different shapes of Stupas. It should be shared widely to enlighten those who are so intent on making injurious comments about the Great Dhammakaya Cetiya so that they will stop incurring more and more terrible retribution for their lack of verbal restraint.

    ตอบลบ
  44. ดีงามครับ. สาธุๆ

    ตอบลบ
  45. ไม่ว่าจะสร้างแบบไหน แต่ถ้าสร้างด้วยความศรัทธาที่มีต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างเพื่อจะเคารพกราบไหว้บูชา แบบไหนก็คงไม่ผิด จะผิดก็เพราะคนชอบจับผิด

    ตอบลบ
  46. อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  47. สาธุ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากค่ะ คนไทยจะได้มีความรู้เรื่องเจดีย์มีหลายรูปแบบ จะได้ไม่หลงผิดไป

    ตอบลบ
  48. ได้ความรู้ดีมากเลย

    ตอบลบ
  49. เจดีย์รูปทรงนี้ มีมาแต่สมัยโราณกาลแล้ว จึงไม่แปลกที่วัดพระธรรมกายจะสร้างเจดีย์ทรงนี้บ้างในยุคสมัยนี้

    ตอบลบ
  50. อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  51. พระมหาธรรมกายเจดีย์เป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงเดียวกับศานย์จิเจดีย์ท่านใดที่ยังไม่เข้าใจและเรียกธรรมกายเจดีย์ไปต่างๆนานาท่านต้องอ่านบทความนี้

    ตอบลบ
  52. พระมหาธรรมกายเจดีย์เป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงเดียวกับศานย์จิเจดีย์ท่านใดที่ยังไม่เข้าใจและเรียกธรรมกายเจดีย์ไปต่างๆนานาท่านต้องอ่านบทความนี้

    ตอบลบ
  53. ได้ความรู้เยอะเลย เห็นใจคนที่ไม่เคยไปศึกษาจากเอกสารและคนที่ไม่เคยไปอินเดีย สื่อว่าอย่างไรก็เชื่ออย่างนั้น เราเคยไปอินเดียนะ และกราบพระเจดีย์มาแล้ว กราบพระพุทธรูปแบบมีเกศดอกบัวตูมมาแล้ว การก่อสร้างมันขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละประเทศเท่านั้น จริงแล้วมีผู้รู้ภายในบอก เราเชื่อว่าคนโบราณน่าจะนิ่ง กิเลสจะน้อยกว่าเรา เห็นอะไรในทางธรรมมากกว่าเรา

    ตอบลบ
  54. สาธุค่ะ เป็นประโยชน์ มากค่ะ..

    ตอบลบ
  55. ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

    ตอบลบ
  56. ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

    ตอบลบ
  57. มหาธรรมกายเจดีย์ เป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัย เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธที่รักพระพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  58. สาธุ จะได้รู้ความจริงกันสักที ว่าเจดีย์มีหลายแบบ จะได้เลิกจับผิดและทำบาปกัน

    ตอบลบ
  59. ข้อมูลดีมากๆเลยครับ

    ตอบลบ
  60. ใช่เลยครับ เป็นข้อมูลที่เข้าใจง่ายมาเลยครับ

    ตอบลบ
  61. saif1356.blogspot.com ทรงเจดีย์อินเดีย

    ตอบลบ
  62. ทุกเจดีย์ล้วนมาจากแรงศรัทธา ดีใจที่ได้มีส่วนในการสร้างเจดีย์และได้กราบเจดีย์ในทุกๆ วันค่ะ :)

    ตอบลบ
  63. เป็นความรู้จริงๆเลยค่ะ และที่สำคัญถูกต้องด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  64. กราบอนุโมทนาบุญต่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อและผู้มีส่วนร่วมบุญปัจจัยสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์จนสำเร็จมา ณ โอกาสนี้ค่ะ สาธุ

    ตอบลบ
  65. รูปทรงไม่ใช่ข้อจำกัดที่คนเราต้องใส่ใจด้วยซำ้ หากว่าสร้างด้วยความเลื่อมใสและต้องการสักการะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากรูปทรงไม่ใช่การลบหลู่ในพระพุทธศาสนา และมีคนกราบไหว้และเกิดความเลื่อมใสจนเกิดความคิดที่จะทำความดี จิตคิดสิ่งที่เป็นกุศล

    ตอบลบ
  66. สาธุ ความรู้ใหม่ มีเจดีย์แบบนี้มานานแล้ว

    ตอบลบ
  67. รูปทรงไม่ใช่ข้อจำกัดที่คนเราต้องใส่ใจด้วยซำ้ หากว่าสร้างด้วยความเลื่อมใสและต้องการสักการะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากรูปทรงไม่ใช่การลบหลู่ในพระพุทธศาสนา และมีคนกราบไหว้และเกิดความเลื่อมใสจนเกิดความคิดที่จะทำความดี จิตคิดสิ่งที่เป็นกุศล

    ตอบลบ
  68. ได้ความรู้ดีมากเลย ขออนุโมทนาด้วยนะ สาธุ

    ตอบลบ
  69. สาธุ จะได้รู้ความจริงกันสักที ว่าเจดีย์มีหลายแบบ จะได้เลิกจับผิดและทำบาปกัน

    ตอบลบ
  70. เจดีย์ทุกที่เป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ขออนุโมทนาผู้ที่ให้ความรู้เรื่องรูปทรงเจดีย์ค่ะ

    ตอบลบ
  71. ข้อมูลนี้ดีมากๆเลยค่ะ เพราะเหมือนได้ย้อนยุคไปยังเมื่อพระพุทธกาลเลยค่ะ

    ตอบลบ
  72. ได้ความรู้ใหม่มากๆเลยค่ะ และชัดเจนถูกต้อง
    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

    ตอบลบ
  73. สาธุได้ความรู้เยอะเลยครับ

    ตอบลบ
  74. สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  75. สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  76. เข้าใจเรืองเจดีย์มากขึ้นค่ะ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  77. ได้รับความรู้เยอะมากเลยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคับ

    ตอบลบ
  78. นี้คือเจดีย์ เพื่อรวมชาวพุทธโดยเเท้

    ตอบลบ
  79. เจดีย์ทุกรูปแบบล้วนสร้างขึ้นจากพลังศรัทธา ยุคเรามีบุญมากแล้วที่ได้ทั้งสร้างทั้งบูชา

    ตอบลบ
  80. เจดีย์ทุกรูปแบบล้วนสร้างขึ้นจากพลังศรัทธา ยุคเรามีบุญมากแล้วที่ได้ทั้งสร้างทั้งบูชา

    ตอบลบ
  81. ได้ความรู้เยอะเลย ข้อมูลชัดเจนดีมาก สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  82. สาธุ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

    ตอบลบ
  83. เพิ่งทราบเจดีย์ ยุคแรกๆ เป็นทรงกลมคว่ำ พระปฐมเจดีย์ก็เหมือนกัน

    ตอบลบ
  84. ว้าว มีข้อมูลครบถ้วนมากเลย แจ่มแจ้งจริงหนอ

    ตอบลบ
  85. สาธุ อนุโมทนาบุญครับ

    ตอบลบ
  86. มหาธรรมกายเจดีย์ คือเจดีย์แห่งพระรัตนตรัยที่ควรแก่การเคารพ สักการะ กราบทีพระ 1 ล้านองค์ กราบ 3 ที 3 ล้านพระองค์ ... ปลื้ม ปีติมาก

    ตอบลบ
  87. มหาธรรมกายเจดีมีรูปทรงไม่แตกต่างจากเจดีย์ในสมัยพุทธกาลเลย

    ตอบลบ
  88. อนุโมทนาบุญค่ะ

    ตอบลบ
  89. ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเลย สาธุๆกับเจ้าของบทความด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  90. ขอบคุณครับที่เอาข้อมูลดีๆมาแชร์ให้อ่าน

    ตอบลบ
  91. อนุโมทนาบุญกับผู้สร้างมหาธรรมกายเจดีย์ด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  92. พระมหาธรรมกายเจดีย์มีรูปทรงสัณฐาน คล้ายสาญจีเจดีย์ในยุคแรกๆๆของพระพุทธศาสนานะค่ะ
    ขอบคุณนะค่ะสำหรับความรู้เรื่องเจดีย์ค่ะ

    ตอบลบ
  93. สถูปหรือเจดีย์ เป็นสถานที่ถูกสร้างขึ้นดว้ยความเคารพศรัทธา กราบไหว้บูชาเจดีย์ดีกว่ากราบต้นไม้หรือสัตว์แปลกปลาด

    ตอบลบ
  94. เป็นเจดีย์ที่งดงามทั้งหมดเลยค่ะ

    ตอบลบ
  95. สุดยอดมหัศจรรย์มากๆค่ะ ที่สามารถสร้างเจดีย์ทรงนี้ขึ้นได้ในปัจจุบันและมีอายุยืนยาวอยู่ได้เป็นพันปี ใครได้สร้างก็ได้จารึกชื่อไว้ที่ฐานองค์พระด้วย เหมือนประเพณีของกษัตริย์สมัยโบราณที่นิยมสร้างพระสลักชื่อใต้ฐานแล้วประดิษฐานไว้เป็นเจดีย์ให้ลูกหลานได้กราบไหว้ ผู้สร้างก็ได้บุญต่อเนื่องตลอดพันปี แม้ตายไปแล้วก็ได้บุญตลอดค่ะ

    ตอบลบ
  96. ไม่ระบุชื่อ29 มีนาคม 2559 เวลา 05:44

    สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  97. ดินปั้นเป็นพระยังมีคนกราบไหว้เลย เจดีย์บางองค์มีพระเป็นล้าน ไม่กราบแถมเรียกจานบิน เวรกรรมจริงๆ

    ตอบลบ
  98. ชัดเจนแจ่มแจ้งดีครับ ควรแชร์ให้ทุกคนทราบไม่เช่นนั้นจะถูกหรอกกันไปตลอด

    ตอบลบ
  99. เป็นเจดีย์ที่งดงามทั้งหมดเลยค่ะ

    ตอบลบ
  100. สาธุครับ ได้ความรู้มากขึ้นครับ

    ตอบลบ
  101. ดีมากเลยค่ะ อนุโมทนาบุญนะคะ

    ตอบลบ
  102. สาธุๆๆ ค่ะ พระเจดีย์งดงามาๆค่ะ

    ตอบลบ
  103. ดีมากเลยค่ะ อนุโมทนาบุญนะคะ

    ตอบลบ
  104. ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ไปกราบไหว้มาหลายเจดีย์แล้ว รู้สึกได้บุญได้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยและความคงอยู่ของพระพุทธศานา

    ตอบลบ
  105. สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

    ตอบลบ
  106. สาธุๆๆ ค่ะ พระเจดีย์งดงามาๆค่ะ

    ตอบลบ
  107. ข้อมูลแน่นมากครับ :)

    ตอบลบ
  108. สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

    ตอบลบ
  109. ความจริงที่คู่กับความดีงาม ชัดเจนแจ่มแจ้ง ทุกเจดีย์ไม่ว่าจะรูปทรงใดล้วนงดงามและมีค่ามีคุณควรกราบไหว้ เปรียบเหมือนตัวแทนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ตาบระลึกถึงคุณ ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ซึ่งมีพระคุณจะนับจะประมาณมิได้ เราจะได้เดินตามรอยท่านสู่หนทางพ้นทุกข์ได้

    ตอบลบ
  110. เป็นข้อมูลที่ดีมากๆ

    ตอบลบ
  111. เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  112. คนที่ยังไม่เข้าใจ โปรดเข้าใจซะ คงจะเลิกเข้าใจผิดๆกันแล้วนะคะ

    ตอบลบ
  113. สุดยอดคับ แม้กาลเวลาเปลี่ยนไปแนวความคิดแต่ละสมัยอาจเปลี่ยนไปบ้างแต่รวมๆแล้วก็จะมีรูปทรงที่ไม่แตกต่างจากเดิมทีืเคยมี และวัตถุประสงค์ของการสร้างพระเจดีย์ก้เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า คนบางคนที่ดีแต่ว่าตามๆเขาถ้าเอาเวบามาใช้ศึกษาคงเป็นบุญติดตัวไปมิใช่น้อยนะคับ

    ตอบลบ
  114. ได้ความรู้ที่แท้จริงเยอะขึ้นเลย ไม่เห็นเหมือนในข่าวหรือที่คนเขาพูดให้ฟังเลย

    ตอบลบ
  115. รู้อย่างนี้แล้ว ทำให้อยากให้มีเจดีย์เต็มบ้านเต็มเมืองจังเลยค่ะ ดีมากๆ เลยค่ะสำหรับความรู้นี้ค่ะ

    ตอบลบ
  116. เพิ่งทราบนะค่ะว่าพระปฐมเจดีย์ก้อมีรูปทรงสัณฐานเป็นทรงกลมเหมือนกัน และเป็นเจดีย์ยุคต้นๆๆพุทธศาสนา ตั้งแต่พ.ศ. 300 ซึ่งสร้างในสมัยยุคเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราช
    งั้นก้อแสดงว่าพระเจดย์รูปทรงดั้งเดิม เป็นรูปทรงเช่นเดียวกับมหาธรรมกายเจดีย์นี่เอง
    ขอบคุณกับความรู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยสาระค่ะ

    ตอบลบ
  117. เข้าใจชัดเจน ขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง อนุโมทนาบุญกับผู้เขียนด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  118. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

    ตอบลบ
  119. สาธุครับ อนุโมทนาบุญกับบทความดีๆครับ

    ตอบลบ
  120. สาธุๆๆ เขียนได้เยี่ยมมากค่ะ ขอให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ http://xn--42cgc3ea8bp3ae4hf1as4z.blogspot.jp/2016/02/22.html

    ตอบลบ
  121. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

    ตอบลบ
  122. เข้าใจชัดเจน ขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง อนุโมทนาบุญกับผู้เขียนด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  123. ข้อมูลชัดเจนดีครับ

    ตอบลบ
  124. สาธุครับ อนุโมทนาบุญกับบทความดีๆครับ

    ตอบลบ
  125. ถ้าเป็นคนศาสนาพุทธ จะต้องทำความเข้าใจค่ะ เพราะศาสนาพุทะธ เป็นศาสนาแห่งปัญญา และเหตุผล ถ้านอกศาสนา แล้วมาต่อว่า เจดีย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นอลัชชี ค่ะ......เจดีย์ เป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัย ที่เคารพกราบไหว้ เป็นตัวแทนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้าค่ะ....คนศานาพุทธต้องใช้ปัญญา และเหตุผลในการไตร่ตอง ดั้งนั้น กล่าวจาบจ้วง แบบผิดๆๆ ถือว่า ไม่มีปัญญา และเหตุผิด ใช้หลักคิดของตนเป็นใหญ่ ควบคุมจิต ตนไม่ได้ .....เจดีย์ แห่งพระรัตนตรัยค่ะ

    ตอบลบ
  126. เห็นด้วยกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สาธุ

    ตอบลบ
  127. เป็นข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือได้ ขอยกย่องชมเชยคะ

    ตอบลบ
  128. สาธุค่า เปนความรู้ที่ดีมากค่ะะ

    ตอบลบ
  129. สาธุค่ะ การสร้างเจดีย์จะรูปทรงไหนๆ
    ก็เกิดบุญเกิดกุศล ยิ่งพระธรรมกายเจดีย์
    มีองค์พระล้านองค์ ยิ่งมีคุณค่ามีบุญมากมายค่ะ

    ตอบลบ
  130. เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์จำลองมาจากแดนไกล ที่ไม่มีผู้ใดไปถึง
    ได้กราบไหว้ถือว่าคุ้มของการได้เกิดมาเป็นคนในยุคนี้

    ตอบลบ
  131. เป็นข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือได้ ขอยกย่องชมเชยคะ

    ตอบลบ
  132. ขอบคุณที่ช่วยเปิดโลกทรรศน์ครับ

    ตอบลบ
  133. ข้อมูลชัดเจนดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  134. ขอบคุณที่ช่วยเปิดโลกทรรศน์ครับ

    ตอบลบ
  135. เจดีย์เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะมีรูปทรงใดพอเห็นก็ต้องก้มกราบ นี่เป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ

    http://the-meditation-ways.blogspot.de/2016/03/the-dhammakaya-knowledge.html

    ตอบลบ
  136. เป็นบทความที่ดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  137. ขอบคุณข้อมูลที่ดีๆ สำหรับไว้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้เห็นถึงแรงศรัทธาของผู้คนในแต่ละยุคแล้วน่าทึ่งมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  138. สาธุๆๆ ขอบคุณมากๆๆที่ได้อ่านข้อมูลดีๆๆแบบนี้ มหาธรรมกายเจดีย์ มีรูปทรงเหมือนพระเจดีย์ในสมัยก่อนเลยคะ โชคดีจังที่เรายังได้ดูในรูปเก่าๆแบบนี้ คนสมัยก่อนคงรักนับถือพระพุทธศาสนากันมาอย่างเหนียวแน่น จนมาถึงปัจจุบัน ที่เราก็ต้องรักพระพุทธศาสนา อย่าให้ศาสนาพุทธหายไปจากประเทศไทยนะคะ

    ตอบลบ
  139. สาธุๆๆ อนุโมทนาบุญกับผู้เขียนที่เผยแพร่ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อชาวพุทธและผู้ที่สนใจได้อย่างมากที่สุดค่ะ

    ตอบลบ
  140. ข้อมูลชัดเจนดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  141. สาธุครับขอขอบคุณคำอธิบายสั้นๆที่ทำให้เข้าใจเรื่องเจดีย์ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นครับ

    ตอบลบ
  142. ขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่เขียนบทความนี้คะ สาธุ

    ตอบลบ
  143. เนื้อหาดีมากๆ ครับ ขออนุโมทนากับเจ้าของบทความครับ

    ตอบลบ
  144. เป็นข้อมูลที่ดีมากจริงๆ คะ

    ตอบลบ
  145. เป็นข้อมูลที่ดีมากจริงๆ คะ

    ตอบลบ
  146. สาธุๆๆ แหม่ พวกที่ว่ามหาธรรมกายเจดีย์ มันไม่ศึกษาอะไรเล้ยยย ตกนรกไม่รู้เรื่อง ขอบคุณสาระดีๆที่เรียบเรียงมานะคะ

    ตอบลบ
  147. ลักษณ์ของสถูปเจดีย์ก็เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ตามวัฒนธรรมที่เข้ามามีอิทธิพล ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

    ตอบลบ
  148. เป็นข้อมูลที่ละเอียดดีมากค่ะกราบสาธุนะคะ

    ตอบลบ
  149. อนุโมทนาบุญนะคะ

    ตอบลบ
  150. เป็นข้อมูลความรู้เรื่อง รูปทรงของเจดีย์ ที่ดีมากๆ เลยครับ

    ตอบลบ
  151. สาธุ สาธุ สาธุค่ะ อนุโมทนาบุญกับผู้เขียนด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  152. รูปทรงของเจดีย์ถูกถ่ายทอดจากสภาวะธรรมภายใน สื่อถึงคำสอนที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา การทำความเข้าใจในรูปทรงของเจดีย์จึงต้องอาศัยความละเอียดลุ่มลึกของใจที่เข้าถีงสภาวะธรรมภายใน การพิจารณาด้วยจินตมยปัญญาจีงไม่สามารถพบข้อแท้จริงได้ โต้เถียงกันอย่างไรก็ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เปรียบเสมือนคนป่วยที่พยายามรักษาคนป่วยย่อมไม่มีโอกาสหายจากโรค ย่อมเสียเวลาเปล่า

    ตอบลบ
  153. มหาธรรมกายเจดีย์ก็ไม่ได้แปลกกว่าเจดีย์อื่นๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  154. มหาธรรมกายเจดีย์ก็ไม่ได้แปลกกว่าเจดีย์อื่นๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  155. สาธุ...เป็นบุญตา
    ที่ได้รู้ได้เห็นว่าเจดีย์แต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร
    ล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ น่าเคารพกราบไหว้ บูชา
    ต่อไปจะได้เป็นข้อมูลให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของเจดีย์
    ขออนุโมทนากับข้อมูลดีๆแบบนี้



    ตอบลบ
  156. เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก สาธุครับ

    ตอบลบ
  157. ได้ความรู้เยอะเลยครับ

    ตอบลบ
  158. สาธุ...เป็นบุญตา
    ที่ได้รู้ได้เห็นว่าเจดีย์แต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร
    ล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ น่าเคารพกราบไหว้ บูชา
    ต่อไปจะได้เป็นข้อมูลให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นจริงของเจดีย์
    ขออนุโมทนากับข้อมูลดีๆแบบนี้



    ตอบลบ