ประวัติการสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 3 เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง

06:13 Mali_Smile1978 21 Comments

ประวัติการสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 3
เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง

พระสถูปเจดีย์ของพระโคดมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย

        กษัตริย์ในแคว้นต่าง ๆ ได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ต่างส่งทูตไปที่กรุงกุสินาราแคว้นมัลละ เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จแล้ว ทูตจากเมืองต่าง ๆ ยินยอมพร้อมใจกันให้โทณพราหมณ์ได้ทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
ตรัสสรรเสริญขันความ(ความอดทน) การที่เราจะแตกสามัคคีกันเพราะส่วนแบ่ง
แห่งพระบรมสารีริกธาตุนี้ไม่ดีเลย ขอให้เราทั้งหลายยินยอมพร้อมกันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน ขอพระสถูปจงแพร่หลายในทิศทั้งหลาย 
คนที่เลื่อมใสพระพุทธเจ้ามีอยู่เป็นจำนวนมาก

        ต่อจากนั้นก็ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุกัน ทูตจากเมืองต่าง ๆ ได้พระบรมสารีริกธาตุคนละ ๒ ทะนาน นำไปยังเมืองของตน ทำการเฉลิมฉลองบูชาสักการะ เปิดโอกาสให้พุทธศาสานิกชนได้กราบไหว้บูชากัน ต่อจากนั้นได้สร้างสถูป (เจดีย์) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่บูชาสักการะในกาลสืบไป ดังนี้

(๑) พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงราชคฤห์

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงราชคฤห์
(๒) กษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงเวสาลี

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงเวสาลี
(๓) กษัตริย์ศากยะแห่งแคว้นสักกะ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์
(๔) กษัตริย์ถูลีแห่งอัลลกัปปะ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองอัลลกัปปะ

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองอัลลกัปปะ
(๕) กษัตริย์โกลิยะแห่งรามคาม ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองรามคาม

สถูป ในเมืองรามคาม
(๖) เจ้าผู้ครองนครแห่งเวฏฐทีปกะ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองเวฏฐทีปกะ

(๗) กษัตริย์มัลละแห่งแคว้นมัลละฝ่ายเหนือ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
ในเมืองกุสินารา
        สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองกุสินารา
(๘) กษัตริย์มัลละแห่งแคว้นมัลละฝ่ายใต้ ได้กระทำสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเมืองปาวา

จุนทะสถูป สถูปโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง
สถานที่เสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
         ส่วนโทณพราหมณ์ได้กระทำสถูปบรรจุทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแบ่งกันนั้นแหละไว้เป็นที่บูชาสักการะ กษัตริย์แห่งโมริยะ ได้กระทำสถูปบรรจุพระอังคาร(เถ้า)ไว้ในเมืองปิปผลิวัน

สถานที่สันนิษฐานว่าเป็นที่โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุ
แก่เจ้าผู้ครองนครทั้ง 8 ในกุสินารานคร
         เรื่องนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของสถูป(เจดีย์) กำเนิดความเป็นมาของสถูปในอินเดีย กล่าวเฉพาะเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ จัดพิธีฉลองยิ่งใหญ่ตลอดระยะทางตั้งแต่กรุงกุสินาราถึงราชคฤห์เลยทีเดียว นับเป็นระยะทาง ๒๕ โยชน์ พระองค์ได้ทรงสร้างสถูปพระบรมสารีริกธาตุไว้อย่างดี เรื่องนี้น่าศึกษามิใช่น้อย ตำนานบอกว่า พระมหากัสสปเถระได้ถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าอชาตศัตรูให้ดำเนินการรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุอีก ๗ ส่วนที่ได้แจกจ่ายไปตามเมืองต่าง ๆ นั้นมารวมบรรจุไว้ในกรุงราชคฤห์ เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้น โดยพระมหากัสสปเถระรับภาระที่จะรวบรวมเอง
        จากนั้น พระเถระก็ได้ดำเนินการรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุจากราชตระกูลทั้ง ๗ มาประดิษฐานไว้ในทิศตะวันออก และทิศใต้ของกรุงราชคฤห์ โดยพระเถระเล็งเห็นว่า ในอนาคต คนทั้งหลายจักเก็บพระบรมธาตุเหล่านี้ไว้ในมหาเจดีย์ในมหาวิหารลังกา ๒ พระราชารับสั่งให้สร้างสถูปไว้ ๘ องค์ ใส่พระบรมสารีริกธาตุไว้ผอบจันทน์เหลือง ๘ ใบ พระมหากัสสปเถระอธิษฐานว่า “พวงมาลัยอย่าเหี่ยว กลิ่นหอมอย่าหายไป ประทีปอย่าไหม้” แล้วให้จารึกไว้ที่แผ่นทองว่า “แม้ในอนาคต ครั้งพระกุมารพระนามว่าอโศกจักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายไป ดังนี้”

ประเภทของเจดีย์


      สถูปเจดีย์นั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประเภทหนึ่งในหลายประเภท ที่คนอินเดียโบราณนิยมสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในเชื้อชาติเดียวกันกับพระพุทธเจ้า (ศากยะ) ซึ่งพบว่า เมื่อญาติเสียชีวิตจะนิยมเผาศพและเก็บกระดูกไว้บูชา โดยสร้างสถานที่เก็บเอาไว้ (หากมีขนาดใหญ่โตก็เรียกว่าสถูป) เพื่อให้ผู้คนได้สักการบูชาระลึกถึงผู้ตาย ซึ่งเป็นรูปแบบของสิ่งก่อสร้างที่สัมพันธ์กับการฝังศพ โดยเฉพาะการฝังอัฐิธาตุซึ่งได้มีการใช้มาแล้วก่อนสมัยพุทธกาล
    สถูปกับเจดีย์มีความหมายไม่เหมือนกันในที่นี้ กล่าวคือ สถูปจะมีความหมายที่ใช้เฉพาะสิ่งก่อสร้างในทางสถาปัตยกรรม
    ส่วนเจดีย์จะกินความหมายกว้างกว่า มีนัยกว้างขวางครอบคลุมสิ่งที่ควรเคารพ นับถือ บูชาหลายอย่างดังที่กล่าวแล้ว  คือหมายถึงสิ่งก่อสร้างในทางสถาปัตยกรรม และมีความหมายรวมถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ควรแก่การสักการบูชา เช่น พระพุทธรูป วิหาร พระไตรปิฎก ฯลฯ
   โดยสรุปมี ๔ ประเภท

๑. ธาตุเจดีย์ สิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ
๒. บริโภคเจดีย์ สังเวชนียสถาน อันเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เช่น สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน หรือที่เรียกว่าสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
๓. ธรรมเจดีย์ ข้อความที่ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำ ประโยคทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
๔. อุทเทสิกเจดีย์ สิ่งของที่สร้างขึ้นอุทิศพระพุทธเจ้า เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่าจะเป็นอะไร เช่น พระแทนวัชรอาสน์ที่เจดีย์ศรีมหาโพธิพุทธคยา พระพุทธรูป

      โดยนัยนี้จะเห็นว่า “เจดีย์” มีความหมายกว้างครอบคลุมสิ่งที่ควรบูชาสักการะทุกอย่าง ไม่ได้หมายถึงสถูปอย่างเดียว เจดีย์ที่มีความหมายเดียวกันกับ “สถูป” คือ ธาตุเจดีย์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุ หรืออัฏฐิธาตุ
     

 อ้างอิงข้อมูลจาก : พระมหาสมจินต์ สมมาปญโญ (2547) http://goo.gl/KbOhUP; https://goo.gl/NNfVw3;
นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 166 ตุลาคม 2557
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000113440

21 ความคิดเห็น:

  1. สาธัครับ ได้ความรู้เรื่องเจดีย์เป็นอย่างดีเลยครับ

    ตอบลบ
  2. สาธุค่ะ เป็นประโยชน์มสกๆเลยค่ะทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับประวัติของเจดีย์ที่สวยงามมากๆของเเต่ละองค์

    ตอบลบ
  3. สาธุค่ะ เป็นประโยชน์มสกๆเลยค่ะทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับประวัติของเจดีย์ที่สวยงามมากๆของเเต่ละองค์

    ตอบลบ
  4. ชัดเจนมาก
    ขอบคุณข้อมูลดีๆที่มาให้ความกระจ่าง และเพิ่มพูนความรู้รอบตัว

    ตอบลบ
  5. สิ่งที่มีเหมือนกันตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันคือ ความเคารพรักในพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างสิ่งที่เป็นสิ่งแทนต่อการเคารพบูชา แม้จะมีแตกต่างกันบ้างไปตามยุคสมัย นี่เป็นสิ่งที่คนทั้งหลายควรศึกษาก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์กันโดยความไม่รู้

    ตอบลบ
  6. เป็นข้อมูลที่ดีเหลือเกิน ทึ่จะทำให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษา จะได้ไม่หลงเชื่อแบบผิดๆ อีก

    ตอบลบ
  7. ที่บอกว่ามหาธรรมกายเจดีย์เป็นจานบินก็คิดใหม่นะคะวัดใหญ่ขนาดนี้คงไม่คิดแค่ว่าทำออกมาให้แปลกตานะคะแต่มีเหตุผลทางพุทธศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่าไม่พี่ไม่ได้มาเล่นๆจ้า

    ตอบลบ
  8. สาธุครับ กระจ่างครับ

    ตอบลบ
  9. บทความให้ความกระจ่างดีครับ ให้เขียนบทความที่ดีๆแบบนี้ต่อไปครับ!

    ตอบลบ
  10. มีสาระความรู้เกี่ยวกับเจดีย์ อนุโมทนาบุญครับ

    ตอบลบ
  11. ขออนุโมทนา ค่ะ เป็นประโยชน์ที่ดีมาก สำหรับปะชาชนสาระทีควรรู้และจำเป็นตอ้งรู้เพื่อจะได้ไม่เข้าใจอะไรผิดกันอีกต่อไป

    ตอบลบ