Hill of the Buddha :หุบเขาแห่งพุทธะ ที่ญี่ปุ่น ศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่เหนือกาลเวลา แต่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณแห่งพุทธะ

02:07 Mali_Smile1978 1 Comments


Hill of the Buddha : หุบเขาแห่งพุทธะ ที่ญี่ปุ่น
ศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่เหนือกาลเวลา 
แต่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณแห่งพุทธะ 

     โพสที่แล้วผมพาไปรู้จักกับวัดที่สิงคโปร์มาแล้ว กับการออกแบบที่ล้ำสุดๆ จนต้องบอกว่าลืม ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และศิลปะแบบไทยไปได้เลย

     คราวนี้มารู้จักวัด อีกแห่งหนึ่งจริงก็ไม่เชิงว่าวัด แต่ขอเรียกว่าพุทธศาสถาน แล้วกันครับ ที่ผมชอบมากๆ อีกแห่ง ความแปลกไม่ใช่การออกแบบสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่เป็นการใช้ภูมิทัศน์ หรือแลนด์สเคป มาเป็นกรอบความคิดหลักในโครงการ เพื่อจัดระเบียบสภาพแวดล้อม โดยรอบ 

     Hill of the Buddha เป็นศาสนสถาน ที่ตั้งอยู่ใน สุสาน Makomanai Takino ในเมืองซับโปโร ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เปิดตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2015 

     ออกแบบโดย นาย Ando Tadao สถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของญี่ปุ่นและของโลก 


     จุดมุ่งหมายของโครงการนี้ก็คือการสร้างสถานที่สวดภาวนา โดยมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ นามว่า Atama Daibutsu ความสูง 13.5 เมตรและมีน้ำหนัก1500 ตัน เป็นจุดศูนย์กลาง โดยองค์พระนี้สร้างก่อนหน้าเมื่อ 15 ปีที่แล้ว 

     การออกแบบเนินเขาเล็กๆ ครอบคลุมพระพุทธรูป จะมองเห็นเพียงเศียรองค์พระเท่านั้นจากภายนอก เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างแปลกใหม่ไม่เหมือนใครจริงๆ เพราะปกติ เราก็จะเห็นเอาองค์พระตั้งไว้บนเนินเขาแบบที่เราเห็นในประเทศไทยหรือหลายๆประเทศ หรือไม่ก็สร้างอาคารขนาดใหญ่ครอบไปเลย 

     ความตั้งใจในการออกแบบ คือการสร้างลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่มีชีวิตชีวาโดยเริ่มจากการเดินผ่านอุโมงค์ยาวเพื่อเพิ่มความคาดหมายของรูปปั้นซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอก เมื่อถึงห้องโถงผู้เข้าชมจะขึ้นไปมองพระพุทธรูปซึ่งมีศีรษะล้อมรอบด้วยรัศมีของท้องฟ้าที่ปลายอุโมงค์ เหมือนกับ ฉัพพรรณรังสี ของพระพุทธเจ้า ที่มีหลายเฉดสี 

     อันนี้เหมือนปริศนาธรรมที่คนออกแบบแฝงไว้ โดยให้ผู้คนเดินผ่านทุ่งลาเวนเดอร์สวยงาม ผ่านเข้าในอุโมงค์ ซึ่งจะค่อยๆเผยให้เห็นองค์พระ ทีละหน่อย จนถึงโถงใหญ่ จึงจะพบกับองค์พระเต็มองค์ 

     ความพิเศษอีกอย่างของที่นี่คือ เนินเขาถูกปลูกด้วย ลาเวนเดอร์กว่า 150,000 ต้น ที่จะเปลี่ยนสีไปตามฤดูกาล ตามภาพที่เราเห็นนั่นเองครับ 


     เห็นข้อมูลแล้วเป็นยังไง บ้างครับ กับงานออกแบบทางพระพุทธศาสนา ที่เปี่ยมไปด้วยแนวคิด จิตวิญญาณ และความเรียบง่ายแบบญี่ปุ่น จนทำให้เราอาจจะลืม งานออกแบบในบ้านเราไปเลยก็ได้ 
     ผมไม่เคยบอกว่าศิลปะ แบบไทยไม่ดีนะครับ ศิลปะแบบไทย เรียกว่าเป็นศิลปะที่ผู้คนทั่วโลกยกย่อง แต่ผมไม่อยากให้คนไทย เอาความภูมิใจเหล่านี้ เป็นตัดสินงานออกแบบอื่นๆ ที่เราไม่คุ้นตาก็เพียงเท่านั้น ครับ เพราะอย่างที่เคยบอกไว้ เมื่อโพสที่แล้วว่า “ศิลปะทางพระพุทธศาสนาของไทย ไม่ใช่ ทั้งหมดของพระพุทธศาสนาโลก” 
ในบริเวณเดียวกันมีทั้งโมอายและสโตนเฮนจ์อีกด้วย



Cr. facebook A.Diary https://www.facebook.com/ADiary-593717457501365/
แหล่งข้อมูล 
http://takinoreien.com/?page_id=168 
https://www.vitra.com/en-cz/magazine/details/the-hill-of-the-buddha 
http://www.fubiz.net/en/2017/07/25/hill-of-buddha-by-tadao-ando-2/ 
http://www.spoon-tamago.com/2016/10/20/a-spoon-tamago-guide-to-hokkaido/ 

1 ความคิดเห็น:

  1. นี่ก็สุดยอดเลย
    หลักเกณฑ์สร้างวัดแบบพุทธ
    คือ
    ๑. ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป เดินทางไปมาได้สะดวก
    ๒. ช่วงกลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เพราะแก่การเจริญภาวนา
    ๓. มีเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย
    ๔. จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชและบริภัณฑ์ทางด้านการรักษาพยาบาล ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคือง
    ๕. มีภิกษุผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมที่จะสอนธรรม ไขข้อสงสัยในธรรมได้ เหมาะแก่การบรรเทาทุกข์ทางใจ

    นี่คือองค์หลักในการสร้างวัดของพระตามพระดำรัสพระศาสดา ส่วนรูปแบบวัดจะเป็นอย่างไรก็ปรับตามยุคตามสมัย ชาวพุทธก็ควรมีปัญญาสมชาวพุทธ อย่าไปยึดติดในรูปแบบว่าจะต้องเป็นแบบไทยๆ นี่แหละจึงเรียกว่ามีปัญญาสมเป็นชาวพุทธ


    ตอบลบ